?
100 เรื่องเมืองไทย
100 เรื่องเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย เที่ยว 77 จังหวัด แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย
พระเครื่อง
วัตถุมงคลในศาสนาพุทธ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าที่มีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา พระเครื่องอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ ,พระอริยสงฆ์และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วย

ประวัติการสร้าง
สันนิษฐานว่าสร้างภายหลังการสร้างพระพุทธรูป (ราว พ.ศ. 500)ปรากฏเห็นเป็นหลักฐานชัดเจนในในสมัยทวารวดี (ราว พ.ศ. 400-พ.ศ. 1200)และ สมัยศรีวิชัย (พ.ศ. 1300) โดยสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาเคารพสังเวชนียสถาน เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนความหมายของคำว่าพระเครื่องในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่าพระเครื่องหรือ เรียกพระองค์เล็กๆที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่าพระเครื่อง
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในสังคมไทย โดยจากในอดีตที่ไม่นำนิยมนำพระพุทธรูปมาไว้ในบ้าน[ต้องการอ้างอิง] ก็เริ่มนำพระพุทธรูปมาไว้ในบ้าน มีการสร้างห้องพระหรือหอพระเพื่อใช้เป็นที่บูชาและเก็บรักษาพระพุทธรูปและพระพิมพ์ อีกทั้งมีการสร้างพระพุทธรูปขนาดเล็กที่ใช้นำติดตัวพกพาไปไหนมาไหนระหว่างการเดินทาง เพื่ออาศัยอำนาจพุทธานุภาพขององค์พระที่อธิฐานจิตในการช่วยปกป้องให้พ้นจากอันตราย ซึ่งพระพุทธรูปขนาดเล็กที่ใช้นำติดตัวเพื่ออาศัยอำนาจพุทธคุณช่วยปกป้องให้พ้นจากภยันตารายเหล่านี้มักถูกเรียกว่า พระเครื่องราง พระเครื่อง ซึ่งมาจากการผนวกความเชื่อระหว่างการนับถือเครื่องรางของขลังเข้ากับพระพุทธรูปหรือพระพิมพ์ ถือเป็นการรวมอำนาจพุทธานุภาพเข้ากับอำนาจไสยขาว

ความเชื่อและคตินิยม- พระเครื่องรางส่วนใหญ่ การสร้างสร้างให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆพังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนา
- ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง
- ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

พระเครื่องที่เป็นที่นิยม- พระกรุต่างๆ (ที่ขุดได้จากพุทธเจดีย์ โบราณสถาน) เช่นพระสมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย กำแพงเพชร อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์
- พระกริ่ง เช่น พระกริ่งปวเรศ พระกริ่งธิเบต พระกริ่งจีน พระกริ่งเขมร เป็นต้น
- พระสมเด็จ เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรม พระสมเด็จเกศไชโย พระสมเด็จปิลันทร์ พระสมเด็จวัดหลวงปู่ภู พระผง ๙ สมเด็จเป็นต้น
- พระสมเด็จจิตรลดา
- พระสมเด็จนางพญา สก.วัดบวรนิเวศวิหารพระสมเด็จนางพญา วัดบวรนิเวศวิหาร มวลสารจิตรลดา
- หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
- หลวงพ่อท่านคล้าย พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
- เหรียญที่ระลึกรูปพระพุทธรูป เช่น หลวงพ่อโต (อยุธยา) พระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา
- เหรียญที่ระลึกรูปพระเกจิอาจารย์ (รูปพระภิกษุสงฆ์) เช่น หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงพ่อฉุย เป็นต้น
- เหรียญหล่อ เช่น หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้น
- พระปิดตา (พระภควัมบดี)เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่ทับ หลวงปู่นาค เป็นต้น
- พระกริ่ง/พระชัย เช่น พระกริ่งวัดสุทัศน์ พระกริ่งวัดบวรนิเวศวิหาร พระกริ่งเกจิคณาจารย์ทั่วไป เป็นต้น
- พระของขวัญวัดปากน้ำ หลวงพ่อสด พระมงคลเทพมุนี
- พระเกจิคณาจารย์ เช่น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
อ่าน (
3,500)
100 เรื่องเมืองไทยล่าสุด
- ลำตัด วัฒนธรรมพื้นบ้านเล่าขานความเป็นไทย
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เป็นการละเล่นที่นำบทร้อยกรองมาใส่จังหวะและทำนองเพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการขับร้อง เพลง...
- อักษรไทยฝักขามหรืออักษรฝักขาม
อักษรไทยฝักขามหรืออักษรฝักขาม เป็นอักษรที่เคยใช้ในล้านนาและภาคอีสานของไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไทยน้อยหรือ...
- พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญยิ่งสำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข เพราะเป็นการเชิด...
- โขน
โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูต...
- นาฎศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการละคร ฟ้อนรำ และดนตรี อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์น...
Comment
แสดงความคิดเห็น
ยังไม่มี Comment ในเรื่องนี้.
เข้าสู่ระบบ
|
|
|